วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทเบื้องต้น

ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทเบื้องต้น

ความหมายของการเขียนบท 
        การเขียนบทเป็นการกำหนดเนื้อเรื่อง เป็นการกำหนดการเชื่อมโยงเหตุการณ์ และตัวละครต่างๆเข้าด้วยกัน โดยผ่านกระบวนการ ค้นหา รวบรวมจัดเรียบเรียง และตกแต่งปรับเข้าร่วมกัน
ดั้งนั้น นักเขียนบทจึงต้องเป็นบุคคลพิเศษ  ต้องเป็นนักอ่าน นักคิด นักวิชาการ นักฝัน และนักเขียนในเวลา
        การเขียน เป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสารอ่าน เข้าใจ รับรู้ถึงสิ่งที่ได้สื่อสารออกไป เพื่อนำไปถ่ายทอดต่อกับบุคคลอื่นแทนการวิธีบอกเล่าปากต่อปาก 

ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทละคร 

        องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับการจัดแสดงละครคือ บทละครซึ่งหมายถึงเรื่องราวที่ห่อหุ้มเนื้อหาสาระที่ผู้ประพันธ์ต้องการนำเสนอ บทละครอาจเป็นเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้น เป็นเรื่องราวจากตำนาน นิทาน เรื่องเล่า หรือเรื่องจากจินตนาการล้วนๆ ก็ได้

ความหมายของละคร 
        ละคร คือ ศิลปะการแสดงที่สร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ให้กับมนุษย์ มนุษย์กลุ่มแรกได้แก่ผู้แสดงส่วนกลุ่มหลังคือผู้ชม ซึ่งได้มาอยู่รวมกัน ในเวลาเดียวกัน ณ สถานที่เดียวกัน ซึ่งหมายถึงสถานที่จัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นบนเวทีละคร หรือที่ใดๆ โดยเรื่องราวที่แสดงนั้นจะมีแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ ผู้ชมได้แบ่งปันประสบการณ์ที่ตนเองเคยมี กับประสบการณ์ในละคร โดยการฟัง รับรู้ข้อมูล รู้สึกตาม มีอารมณ์ร่วม มีปฏิกิริยากับสิ่งที่เกิดขึ้นในการแสดงที่สำคัญก็คือ ละคร จะต้องเป็นการแสดงที่ เป็นเรื่องการแสดงใดๆ ที่มีทั้งผู้แสดงและผู้ชม แต่มิได้แสดงเป็นเรื่องเป็นราว เช่น การแสดงแฟชั่นโชว์ การแสดงดนตรี การแสดงรำอวยพร การแสดงระบำเป็นชุดๆ ประเภทวิพิธทัศนา การแสดงกล ฯลฯ เหล่านี้ ไม่เรียกว่าละครเพราะขาดองค์ประกอบที่สำคัญไปอย่างหนึ่งคือ เรื่อง

ข้อคำนึงการเขียนบท
        การเขียนบทจะให้สมบูรณ์นั้น ผู้เขียนบทจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ในการเขียนบท 
·     แนวคิดหลัก (Idea & Main Idea) เป็นเสมือน โครงหรือแก่นของเรื่องนั้นๆ ผู้เขียนบทจะต้องจับ หรือดึงเอาข้อมูลหรือเนื้อหาบางอย่างมาเป็นแกนของเรื่องให้ได้ 
·     การเลือกเรื่องผู้เขียนและผู้จัดรายการบทความต้องพิจารณาว่า บทความควรจะเป็นเรื่องอะไร ที่ส่วนใหญ่สนใจ เหตุผลที่จะเขียนเรื่องนั้น ตั้งประเด็นให้แน่นอนลงไปว่าจะเขียนเพื่อจุดประสงค์อะไร สนับสนุนหรือคัดค้านอะไร หรือเพียงแต่ให้ข้อเท็จจริงแล้วเขียนให้อยู่ในประเด็น  
·     การศึกษาค้นคว้า เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของบทจะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าบทนั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม โดยซักถามจากนักวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ค้นคว้าจากห้องสมุดหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จัดเก็บเอาไว้ เสร็จแล้วก็ลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา   
·     การจัดลำดับข้อมูลหรือเนื้อหา การจัดทำลำดับเนื้อหา เรื่องราวของบทเรียน เป็นการนำกรอบเนื้อหา ที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรมสุดท้าย นำมาลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา การจัดลำดับเนื้อหาต้อง เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ  
·     ความยาว สิ่งที่จำเป็นอีกประการหนึ่งสำหรับผู้เขียนบท ก็คือต้องทราบว่าเวลาสำหรับนำเสนอรายการนั้นมีระยะเวลาเท่าไร ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเข้าใจถ่องแท้ เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ ที่เกี่ยวกับเวลาด้วยแล้วจึงกำหนดรูปแบบของรายการ 
·     การวางเค้าโครงเรื่องมีจุดประสงค์เพื่อให้งานชิ้นที่เขียนมีจุดหมายที่แน่นอนไม่วกเวียนออกนอกเรื่อง ทำให้วางแนวในการเขียนได้ถูกต้องและทำให้เขียนบทความตามที่ต้องการได้เร็วขึ้น และกำหนดบทนำ ตัวเรื่องและการจบให้มีหลักเกณฑ์ที่ดี 

หลักการเขียนบท 
·     โครงเรื่อง ต้องมีลักษณะกะทัดรัด ไม่ยืดยาว ดำเนินเรื่องฉับไว ลักษณะของโครงเรื่องขึ้นอยู่กับชนิดของเรื่อง แต่เรื่องสั้นที่สร้างความประทับใจผู้อ่านมักเป็นเรื่องสั้นชนิดผูกเรื่องโดยหักมุมจบให้ผู้อ่านคาดไม่ถึง
·       ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว ต้องมีลักษณะสมจริง สะท้อนชีวิตหรือเป็นตัวแทนของบุคคลจริง  
·       ฉากต้องสมจริง ให้ภาพจินตนาการชัดเจน น่าสนใจ 
·       ถ้อยคำหรือบทสนทนา สมจริง ใช้ภาษาประณีต คมคาย ชวนติดตาม 

ขั้นตอนการเขียนบท
·     กำหนดวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย สิ่งแรกที่ควรคำนึงก่อนลงมือเขียน คือวัตถุประสงค์ของการเขียน เขียนไปเพื่ออะไร ต้องการให้อะไรกับผู้ชม เช่น ความคิดความรู้ ความบันเทิง เปลี่ยนเจตคติ สร้างค่านิยมที่ดี ปลูกฝังความสำนึกที่ดีงามหรือให้เกิดทักษะ ความชำนิชำนาญในด้านใด เสร็จแล้วต้องวิเคราะห์ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายนั่นก็คือเขียนเพื่อใคร 
·     การศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจและคุณลักษณะอื่นๆ เช่นไร มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก (target group) เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้สื่อได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายเปิดรับ สามารถกำหนดเนื้อหา และรูปแบบได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ ซึ่งจะทำให้การผลิตประสบความสำเร็จ 
·       กำหนดหัวข้อเรื่อง เมื่อทราบเงื่อนไขต่างๆ ดังที่กล่าวมาในตอนต้นแล้ว จะทำให้กำหนดหัวข้อเรื่อง  
·     กำหนดขอบข่าย เนื้อหา เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย  
·     ลงมือเขียนบท การเขียนบทถือเป็นหัวใจของขั้นก่อนการผลิต (Pre - Production) และกระบวนการผลิตทั้งหมด เนื่องจากบททำหน้าที่เสมือนแบบแปลนในการสร้างบ้าน นอกจากนั้นแล้วบทเป็นจุดชี้วัดจุดแรกที่จะบอกได้ว่าสื่อนั้นๆจะประสบความสำเร็จหรือไม่ 

ประเภทการเขียนบท 
·       งานเขียนเรื่องสั้น 
เรื่องสั้น หมายถึง ร้อยแก้วเรื่องสมมุติที่มีขนาดสั้น มุ่งแสดงแนวคิดของเรื่องเพียงประการเดียว ผู้แต่งมักนำเสนอเหตุการณ์ สถานที่ ตัวละครและบทสนทนาในเรื่องให้มีเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงแนวคิดที่แฝงไว้ในเรื่องได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน ไม่สับสนยอกย้อน
เอดการ์ แอลลัน โพ (Edgar  Allen  Poe) นักเขียนชาวอเมริกันผู้ให้กำเนิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องสั้นเป็นคนแรก ได้ให้อธิบายถึงเรื่องสั้นไว้ว่า เรื่องสั้นจะต้องมีความยาวพอสมควร สามารถอ่านได้รวดเดียวจบภายในเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง เรื่องสั้นต้องมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งเนื้อเรื่องและความคิด อีกทั้งต้องมีแนวคิดแนวเดียวและจุดสนใจเพียงจุดเดียว และด้วยเหตุที่เรื่องสั้นมีความยาวเป็นข้อจำกัด เนื้อเรื่องจึงมุ่งที่ความเข้มข้นและมักจะไม่มีความสลับซับซ้อน และใช้ตัวละครไม่มากในการดำเนินเรื่อง อีกทั้งยังนิยมใช้ผู้เล่าเรื่องเพียงคนเดียวตลอดทั้งเรื่องเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนซับซ้อน” (ยุวพาส์ (ประทีปะเสน) ชัยศิลป์วัฒนา, 2542 , หน้า 107 - 108) 
·       งานเขียนนวนิยาย หมายถึงเรื่องแต่งบทร้อยแก้วที่มีขนาดความยาวเป็นเล่ม ผู้แต่งสมมุติตัว
ละคร เหตุการณ์ เรื่องราว และสถานการณ์ขึ้นมาให้มีลักษณะสมจริง รวมทั้งใช้พฤติกรรมในชีวิตจริงของมนุษย์เพื่อแสดงความคิดเสนอสาระและให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน เป็นร้อยแก้วเรื่องสมมุติที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรื่องสั้น เพราะผู้แต่งสามารถแสดงเหตุการณ์ในเรื่องให้ละเอียดได้หลายแง่หลายมุม แสดงสถานที่ในเรื่องได้หลายแห่ง และสร้างตัวละครได้โดยไม่จำกัดจำนวน แนวคิดของเรื่องก็อาจมีได้หลายประเด็น ทั้งแนวคิดเอกและแนวคิดรอง
·       งานเขียนบทละคร การเขียนบทละคร หมายถึง การนำเรื่องราวที่แต่งขึ้นเอง หรือที่มีอยู่จาก
แหล่งใดๆ มาเขียนเป็นบทละคร ให้ถูกรูปแบบ (format)  ของบทละคร ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของบทละครเวที บทละครโทรทัศน์ หรือบทภาพยนตร์ เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเป็นการแสดงละครต่อไป  
งานเขียนบทละคร คืองานเขียนที่เป็นเรื่องแต่งจำลองภาพชีวิต คล้ายกับนวนิยาย และเรื่องสั้น แต่มีข้อแตกต่างที่บทละครเป็นงานเขียนที่มิได้เขียนขึ้นเพื่อการอ่านอย่าง นนิยายหรือเรื่องสั้น แต่เป็นการเขียนขึ้นเพื่อการแสดงละคร ที่อาจเป็นละครเวที (แสดงสด) หรือละครโทรทัศน์ (บันทึกภาพจากกระบวนการถ่ายทำการแสดง)
 ดังนั้นลักษณะของงานเขียนจึงมุ่งเน้นไปที่ความสอดคล้องของการจัดองค์ประกอบของ ฉาก เรื่องราว เหตุการณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพของตัวละครที่สามารถเล่าเรื่องผ่านการแสดง หรือภาพและเสียงได้อย่างแนบเนียนตามเจตนาของผู้เขียน 
รูปแบบในการสร้างบทละคร  
                        1) บทละครที่เป็นแบบฉบับ (Tradition Play) จะใช้แสดงในโรงละคร เรื่องราวที่เสนอมาจากวรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน ถ้าเป็นวรรณกรรมเรื่องยาว เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา พระลอ ผู้ประพันธ์บทควรจะเลือกตอนที่น่าสนใจมาเสนอ จากนั้นเปิดเรื่องด้วยฉากที่นำเสนอตามแบบฉบับคือภาพหรือเหตุการณ์ สถานการณ์ของเรื่อง แนะนำตัวละครที่เป็นตัวเอกพร้อมทั้งข้อมูลที่จะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรมต่อ ๆ มาอย่างรวบรัดชัดเจน
                        2) บทละครที่ไม่เป็นแบบฉบับ (Non Illusion Style) ผู้เขียนบทละครควรเน้นที่การเล่าเรื่อง (Story  Theatre)  จินตนาการ (Imagination)  การเริ่มเรื่องจะเป็นการเล่าเรื่องโดยใช้ลีลาท่าทางประกอบดนตรี การขับร้องเพื่อให้ผู้ชมทราบกติกาการนำเสนอ ต่อจากนั้นก็ใช้วิธีประสานเรื่องราวต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อทำให้แนวคิดของเรื่องมีคุณค่าให้ประโยชน์แก่ผู้ชม การเขียนบทประเภทนี้จึงเน้นที่บรรยากาศ รูปแบบการนำเสนอ การเรียบเรียงเรื่องราว กฎเกณฑ์ในการเข้าสู่เรื่องและออกจากเรื่องเมื่อเรื่องหนึ่งจบลง 
                   
                        3) บทละครที่เด็กมีส่วนร่วมแสดง (Participatory Theatre) การเขียนบทประเภทนี้จะต้องเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดง เช่น ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวละครที่คอยช่วยเหลือตัวละครในเรื่อง ช่วยเป็นฉาก ถืออุปกรณ์ประกอบฉาก ผู้ชมจะนั่งดูล้อมเป็นวง ทำให้ละครกลับเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็ก ๆ ได้รับ ผู้ชมจะเชื่อบทบาทและปฏิบัติตามที่ตัวละครสั่ง                       
                        4) บทละครเพื่อการศึกษา (TIE ย่อมาจาก Theatre  In  Education) เป็นละครเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความคิดของเยาวชนในโรงเรียน ก่อให้เกิดความคิดเชิงวิจารณ์นำไปสู่การพูดคุย การเขียนบทจะแบ่งออกเป็นฉาก ๆ แล้วใส่โครงเรื่องตัวละครประมาณ ๕-๖ คนลงไป ประเด็นที่นำเสนอมักเป็นปัญหาการขัดแย้ง เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์จริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร 5) บทละครจากการรวบรวมข้อมูลและเทคนิคละครสด (Collective  Improvisation Theatre) การจะได้บทละครจากการแสดงละครสดนั้น จะต้องสนใจการทำงาน

องค์ประกอบของบทละคร
                       อริสโตเติล (Aristotle)  ปราชญ์ยิ่งใหญ่ชาวกรีก ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการละครไว้ในหนังสือเรื่อง โพเอทติกส์ (Poetics) ได้จำแนก และลำดับความสำคัญออกเป็น 6 ส่วน คือ 
                        
                        1) โครงเรื่อง (plot) หมายถึง การลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละครอย่างมีจุดหมายปลายทาง และมีเหตุผลการวางโครงเรื่อง คือ การวางแผนหรือการกำหนดเส้นทางของการกระทำของตัวละคร ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆโครงเรื่องที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ มีความยาวพอเหมาะ ประกอบด้วย ตอนต้น กลาง จบ เหตุการณ์ทุกตอนมีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผลตามกฎแห่งกรรม 
                        2) ตัวละคร และการวางลักษณะนิสัยตัวละคร (character and characterization) 
                        3) ตัวละคร คือ ผู้กระทำ ผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำในบทละครมีความสำคัญเป็นอันดับรองจากโครงเรื่องการวางลักษณะนิสัยตัวละคร คือ การที่ผู้เขียนกำหนดให้ตัวละครมีลักษณะนิสัยอย่างไร ตามความเหมาะสมของเรื่องราวที่เสนอ ส่วนพัฒนาการของนิสัยตัวละครนั้น หมายถึง การที่นิสัยใจคอหรือเจตคติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตของตัวละคร มีพัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประสบเหตุการณ์ หรือเหตุการณ์มากระทบวิถีชีวิตตน 
                        4) ความคิด หรือแก่นเรื่อง (thought) ความคิดจัดอยู่ในความสำคัญอันดับที่ 3 ของละคร ซึ่งหมายถึง ข้อเสนอที่ผู้เขียนพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริงจากเรื่องราว และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร ความคิดที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวในละครก็คือ จุดมุ่งหมายหรือความหมาย (premise) หรือในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า แก่น” (theme)  

                        5) การใช้ภาษา (diction) การใช้ภาษา หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมาจากคำพูดของตัวละครหรือบทเจรจา ซึ่งอาจเป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ศิลปะการใช้ภาษาอาจเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การเขียนบทละครที่ดี ซึ่งผู้เรียนต้องศึกษา และวิเคราะห์ว่าบทละครเรื่องนั้นๆ เป็นละครประเภทใด รวมทั้งลักษณะ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา และภาษาที่ใช้ต้องไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป อีกทั้งยังสามารถใช้แสดงออกถึงลักษณะนิสัยของผู้พูด อันจะนำไปสู่เหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป 
                        6) เพลง (song) เพลง หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมา บทเพลงที่เป็นตัวละครจะต้องขับร้อง รวมไปถึงเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที และความเงียบด้วย (ในแง่ละคร) ในการใช้เพลงจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กับองค์ประกอบหลายอย่าง และพยายามกำหนดเพลงให้เป็นส่วนหนึ่งของบทละครเช่นเดียวกับบทเจรจา 
                        7) ภาพ (spectacle) บทบาทของตัวละคร ที่สามารถนำมาแสดงให้เห็นได้ด้วยใบหน้า ท่าทาง และจังหวะอาการเคลื่อนไหวที่แนบเนียน และเพิ่มพูนรสชาติให้แก่ละครเรื่องนั้นๆ 

ขั้นตอนในการเขียนบทละคร  
                            1) กำหนดหัวข้อ หรือประเด็นที่ละครจะนำเสนอ 
                            2) พัฒนาประเด็นให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น 
                            3) กำหนดวัตถุประสงค์ในการเขียน 
                            4) หามุมมองที่จะเล่า ด้วยการกำหนดรูปแบบ และประเภทของบทละคร 
                            5) พัฒนาโครงสร้างของละครให้สมบูรณ์ 
                            6) สร้างตัวละครให้มีชีวิต  

ความสำคัญของการเขียนบทและประโยชน์ที่ได้รับ

            1) เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และ
ประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่าน 
            2) เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อน 
            3) เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์ 
            4) เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม เช่น ถ่ายทอดสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง เป็นต้น 
            5) เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกสิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนาสืบไป 

            6) เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์ที่แต่ละคนปรารถนา เช่น เพื่อต้องการทำให้รู้เรื่องราว ทำให้รัก ทำให้โกรธและสร้างหรือทำลายความสามัคคีของคนในชาติ  
            7) เป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของผู้เขียน 
            8) เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง 
            9) เป็นการพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพ ทำให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการแสดง
ความรู้สึกและแนวคิด 
            10)  เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม 

การเลือกหัวข้อเรื่อง 
            การเลือกหัวข้อเรื่องหมายถึงการพิจารณาเนื้อหาหรือสาระของเรื่อง ว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมากล่าวหรือไม่ การเลือกหัวข้อเรื่องจึงมิได้หมายถึงการเลือกชื่อเรื่อง แต่ต้องคำนึงถึงเนื้อหาหรือสาระของเรื่องเป็นสำคัญ
 ดังนั้นขั้นตอนในการเลือกหัวข้อเรื่องบางครั้งต้องใช้เวลามากกว่าตอนที่ต้องพูด หรือเขียนเรื่องนั้นจริงๆ  เพราะจะต้องประมวลความรู้ความคิดที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องนั้น  ให้เห็นแจ้งทะลุก่อน  จึงจะลงมือเขียน หลักการเลือกหัวข้อเรื่อง มีข้อควรพิจารณาดังนี้  
1)      หัวข้อเรื่องนั้นสามารถจำกัดขอบข่ายได้หรือไม่
คือสามารถควบคุมเนื้อความของเรื่องให้พอเหมาะพอดีกับความยาวที่กำหนดให้
2)      หัวข้อเรื่องนั้นเหมาะกับผู้ฟังผู้อ่านหรือไม่
จุดประสงค์ที่สำคัญอย่างยิ่งข้อหนึ่งในการพูดหรือเขียน คือการสื่อความรู้และความคิดไปยังผู้อ่าน ให้ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจ ดังนั้นหัวข้อเรื่องที่เลือก ควรมีเนื้อหาตรงกับความสนใจ รสนิยม อารมณ์ และระดับสติปัญญาของผู้รับสารนั้นๆ การเลือกหัวข้อเรื่องที่มีเนื้อหาซึ่งผู้ฟังและผู้อ่านไม่เข้าใจ จะทำให้ผลของการสื่อสารย่อมจะได้ประโยชน์น้อยกว่าที่คาดคิดเอาไว้  
3)      หัวข้อเรื่องนั้นเหมาะกับความสามารถของผู้กล่าวผู้เขียนหรือไม่
หัวข้อเรื่องใดที่มีเนื้อหาตรงกับความรู้ สติปัญญา และความสนใจ หรือเป็นหัวข้อเรื่องที่มีความรู้ดีก็ควรเลือกเขียนเรื่องนั้น  
4)      หัวข้อเรื่องนั้นมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอหรือไม่
หัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้เนื้อหาสมบูรณ์ได้นั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลหรือรายละเอียดที่สนับสนุนมากพอ กล่าวคือสามารถหารายละเอียดหรือข้อมูลที่จะประกอบเนื้อหา เพื่อให้มีหลักฐานและเหตุผลชัดแจ้งที่ผู้อ่านผู้ฟังจะเชื่อถือได้ โดยเฉพาะหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับความจริงหรือเป็นวิชาการ จะกล่าวอะไรออกมาลอยๆ โดยไม่มีข้อมูลอย่างชัดเจนไม่ได้ ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาประกอบนั้น นอกจากจะทำให้เนื้อหาสมบูรณ์แล้ว ยังช่วยให้ผู้ฟังผู้อ่านสามารถสืบค้นหาความจริงหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง และประเมินผลงานของเรื่องนั้นได้อีกด้วย ว่าผู้พูดผู้เขียนได้กล่าวอย่างมีน้ำหนักหรือยกเมฆเดาเอา
5)      หัวข้อเรื่องนั้นมีเนื้อหาชัดเจนหรือไม่
หัวข้อเรื่องบางเรื่องอาจก่อให้เกิดปัญหาในการวินิจฉัยว่าจะตัดสินใจอย่างไร เช่น เป็นหัวข้อเรื่องซึ่งกำลังถกเถียงกันยังไม่ยุติก็ดี หรือเป็นหัวข้อเรื่องที่มีเนื้อหาคลุมเครือก็ดี หรือเป็นหัวข้อเรื่องที่ไม่สามารถที่จะตีประเด็นความให้แตกได้ก็ดี หัวข้อเรื่องเหล่านี้ล้วนมีปัญหาไม่ควรจะเลือก เพราะทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องนั้นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
6)      หัวข้อเรื่องนั้นท้าทายและเป็นสิ่งใหม่หรือไม่
ความแปลกใหม่เป็นสิ่งที่คนทั่วไปสนใจ เพราะคนส่วนมากไม่ชอบฟังหรืออ่านเรื่องช้าๆ ดังนั้น ถ้ามีโอกาสเลือกหัวข้อเรื่องได้อย่างอิสระ ควรเลือกหัวข้อเรื่องที่สามารถนำเสนอความคิดเห็นแปลกๆ ใหม่ๆ ดีกว่าเลือกหัวข้อเรื่องที่มีผู้เคยเขียนไว้แล้ว เพราะหัวข้อเรื่องที่นำเสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ลงไปนั้น ย่อมท้าทายผู้ฟังผู้อ่านมากกว่ากัน ทั้งยังสร้างสรรค์เรื่องราวใหม่ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย
7)      หัวข้อเรื่องนั้นมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
ตามปกติการพูดหรือเขียนเรื่องควรจะได้ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ล่วงหน้าก่อนว่า พูดหรือเขียนเรื่องนั้นไปทำไม แนวของเรื่องจะเป็นอย่างไร และจะใช้กลวิธีในการเดินเรื่อง เพื่อให้ผู้ฟังผู้อ่านเข้าใจได้ตรงจุดหมายอย่างไร เช่น ใช้วิธียกตัวอย่าง เปรียบเทียบ หรือวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้เนื้อความทุกตอนของเรื่องกลมกลืนและประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เรื่องมีเอกภาพและทรงไว้ซึ่งใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว 


การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น

การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น

ความหมาย  ป็นการเขียนเล่าเรื่องแบบหนึ่ง มีประมาณ 1000 ถึง 5000 คำเป็นอย่างมาก
ลักษณะ
·       ต้องสมบูรณ์ในตัวมันเอง
·       อ่านจบแค่ในเวลาชั่วครู่
·       ทุกคำในเรื่องต้องสำคัญ และส่งผลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเรื่อง
·       ประโยคเริ่มเรื่องเป็นสิ่งบอกถึงตลอดทั้งเรื่อง
·       จบเมื่อไคล์แมกซ์
·       ตัวละครมีเท่าที่จำเป็น

การแต่งเรื่อง
·     ชนิดผูกเรื่อง เป็นการแต่งโดยใช้พล็อตเป็นตัวเดินเรื่อง ใช้ความซับซ้อน น่าสงสัยของเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้คนอ่านสนใจติดตามว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นต่อไป และมักจะจบลงในลักษณะที่คนอ่านคาดไม่ถึง
·     ชนิดเพ่งไปที่ตัวละคร เป็นการนำเสนอเรื่องราวของตัวละครในเรื่อง โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับความต้องการ ความขัดแย้ง อุปสรรค และการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งของตัวละคร คนอ่านจะสนใจในตัวละคร อยากรู้ว่าเขาจะทำอะไร และเขาจะได้รับผลจากการกระทำนั้นอย่างไรในตอนจบ
·     เน้นฉากสถานที่ เป็นเรื่องที่เน้นถึงบรรยากาศของสถานที่ และเวลา ที่ต่างออกไปจากปกติที่ตัวละครเคยอยู่ หรือพบเห็น เป็นที่แปลกใหม่สำหรับตัวละคร และสถานที่นั้นได้สร้างความรู้สึกนึกคิด และมีผลกระทบต่อตัวละคร โดยมากมักจะเห็นในเรื่องระทึกขวัญ
·     แสดงแนวคิด นักเขียนแต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อนำเสนอแนวคิดของตัวเองในรูปแบบของเรื่องสั้นแทนการวิจารณ์แนะนำตรง ๆ เรื่องจะน่าสนใจ ถ้าเป็นหัวข้อที่กำลังอยู่ในการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม หรือเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งอยู่ในสังคมขณะนั้น เช่นประเด็นการทำแท้งเสรี ตั้งบ่อนเสรี นักศึกษาขายตัว ศีลธรรมกำลังเสื่อม ฯลฯ

ประเภท 
·       มีไม่ต่างไปจากนวนิยาย เรื่องรัก เรื่องลึกลับ เรื่องวิทยาศาสตร์ หรือ แฟนตาซี เรื่องประชดประชันหรือเสียดสีสังคม ฯลฯ

องค์ประกอบ
·       Plot พล็อตเรื่อง
·       Character ตัวละคร Setting ฉากสถานที่
·       Dialogue บทพูด
·       Point of view มุมมอง
·       Theme แสดงแก่นเรื่องที่ต้องการจะเสนอ

ก่อนจะเขียน
ควรจะมีข้อมูลพอเป็นไอเดียอยู่ จากนั้น
·     Theme หมายถึงสิ่งที่เรื่องต้องการจะบอกบางสิ่งบางอย่างที่อาจให้แง่คิด หรือ แสดงความเห็นของคนเขียน ไม่จำเป็นต้องเทศน์ หรือสอน อธิบายให้กับคนอ่านว่าเรื่องมันมีคุณธรรมเพียงใด คนอ่านจะเรียนรู้จากเรื่องที่เขียนเอง
·     Plot เพื่อให้คนอ่านคงความสนใจคุณต้องมีพล็อตเรื่อง ความขัดแย้งหรือการต่อสู้ดิ้นรนของตัวละครเอกที่เขาต้องเอาชนะ ไม่ว่าการต่อสู้นั้นจะเป็นระหว่างคนกับคน หรือเป็นการต่อสู้ของจิตใจตัวเอง ตัวละครเอกจะต้องชนะหรือสูญเสียด้วยตัวของเขาเอง ไม่ใช่จากความช่วยเหลือของคนอื่น ความขัดแย้งจะเป็นสิ่งนำเรื่องให้เดินต่อถึงไคล์แมกซ์ จนจบเรื่อง (เคล็ดลับในการจัดเรียงเหตุการณ์ก็คือ เริ่มจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผลกระทบต่อตัวละครเอกทีอยู่ดี ๆ ตามปกติ แล้วสถานการณ์ก็เลวร้าย จากนั้นตัวละครก็เอาชนะได้
·     โครงสร้างของเรื่อง คือ เข้าไปอยู่ในเรื่องเลย ไม่ต้องอารัมภบท ให้รู้ไปเลยว่าใครคือใคร เป็นเรื่องของใคร ซึ่งต้องรู้แล้วว่า จะใช้มุมมองแบบบุคคลที่ ๑ หรือบุคคลที่ ๓
( แบบบุคคลที่ ๑ เล่าแบบคนเล่าอยู่ในเหตุการณ์หรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเขาเองใช้คำแทนตัวว่า ฉัน ผม ข้าพเจ้า แบบบุคคลที่สาม ถ้าเลือกแบบนี้ ควรจะใช้มุมมองของตัวละครสำคัญเป็นคนเล่า)
·       สร้างตัวละคร ที่เหมาะสม และน่าสนใจ ทำให้คนอ่านอยากรู้เรื่องของเขา
·       เลือกว่าจะให้เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อไหร่
·       ใช้บทพูดให้เร้าใจ กินใจ แสดงตัวตนของตัวละครได้อย่างเหมาะสม
·     การเล่าเรื่องและการบรรยาย ให้บอกแต่สิ่งที่จำเป็นใช้เป็นประโยชน์ในเรื่อง อย่าเยิ่นเย่อ เพราะเรื่องสั้นจะจำกัดความยาวของเรื่อง
( วิธีจะรู้ว่ามีประโยชน์หรือไม่ ให้ลองตัดทิ้งคำหรือประโยคนั้นๆ ออกไป แล้วดูว่ายังสร้างความเข้าใจให้กับคนอ่านหรือไม่ ถ้าคนอ่านเข้าใจและสามารถจินตนาการได้ก็เอาออก )
·       ควรจะมุ่งไปที่ จุดขัดแย้ง เพียงอย่างเดียว ที่ตัวละครสำคัญจะต้องเอาชนะให้ได้
·       เริ่มต้นสร้างเรื่องอย่างง่าย ๆ
·       หาตัวละครมาใส่ความต้องการบางอย่างให้เขา ( พอใจหรือไม่พอใจในสถานภาพของตัวเอง)
·       เติมอุปสรรค หรือปัญหา ที่ขัดขวางไม่ให้เขาไปถึงความต้องการนั้น
·       บีบคั้นเขาด้วยความยากลำบากหรือความผิดพลาดที่มากขึ้น
·       พาออกมาจากสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความสามารถของเขาเอง
·       จบเรื่อง

คำแนะนำ
·     เกาะติดกับขนาดที่จำกัดของแบบในการเขียนเรื่องสั้น โดยทั่วไปจะมีความจำกัดของกรอบและตัวละคร บทพูดมีพลังจูงใจ ฉากสถานที่ต้องการ แต่ไม่จำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดมาก หลีกเลี่ยงพล็อตย่อย
·     การเปิดเรื่องไม่แน่นอนตายตัว ว่าเป็นการบรรยาย และการสังเกตประจำ ยกเว้นการบรรยายนั้นจะแสดงถึงสิ่งที่ถูกรบกวนในขณะนี้ ก่อนที่การกระทำเริ่มขึ้น แต่อย่าให้มาก
·       เริ่มเรื่องสั้นด้วยกระตุ้นเหตุการณ์ ที่ชักจูงไปสู่ความเข้มข้น     
·       เรื่องสั้นควรจะถูกเล่าจากมุมมองของคน ๆ คนเดียว
·       หลีกเลี่ยงความเกินพอดี ทุกรายละเอียดจะต้องเป็นประเด็นสู่พล็อต
·       เหมือนเรื่องแต่งประเภทอื่นที่ต้องให้ตัวละคร ดิ้นรนที่หรือลอยคอท่ามกลางความเลวร้าย หรือมีทางเลือกที่ย่ำแย่พอกัน
·       ให้ตัวละคร มีข้อบกพร่อง อ่อนแอ และมุ่งไปยังข้อสรุปที่คาดไม่ถึง
·       อย่ายืดเยื้อในตอนจบ
·     โดยทั่วไปเรื่องสั้นมักจะเกี่ยวกับ ความขัดแย้ง การตัดสินใน หรือการค้นพบ ต้องมีสิ่งสำคัญเป็นประเด็นหลักสำหรับตัวละครเอก พล็อตขัดแย้งต้องถูกวางเพื่อให้ตัวละครอื่นเป็นตัวขัดขวาง และเผชิญหน้าในตอนไคล์แมกซ์ ถ้าไคล์แมกซ์ของเรื่องสั้นมีตัวละครเอกกำลังตัดสินใจ การตัดสินใจนี้ต้องห่างจากการเข้าถึงผลที่จะตามมาภายหลัง( เพราะมันไม่ควรจะมีอะไรมากไปกว่านี้แล้ว ) ถ้าเรื่องจบลงด้วยตัวละครค้นพบความจริงบางอย่าง ความจริงนี้ควรจะเป็นสิ่งที่ที่ทำให้ชีวิตของตัวละครเปลี่ยนไป

เคล็ดลับเมื่อจะเขียนเรื่องสั้น
·       ให้มีตัวละครในเรื่องน้อยที่สุด
·       ร่างรายการถึงตัวละคร และ สิ่งที่อยากจะให้เกิดในเรื่องอย่างสั้น ๆ
·       ในแผนการเขียนต้องเตรียมย่อหน้าที่จะเสนอฉากสถานที่และการแนะนำตัวละครให้คนอ่านรู้จัก
·       การเปิดเรื่องต้องมีผลกระทบใจคนอ่าน
·       หัวใจสำคัญต้องรู้ว่าเรื่องเกิดที่ไหน เกี่ยวกับอะไร และมุ่งไปสู่ประเด็นนั้น อย่าออกนอกเรื่องในสิ่งไม่จำเป็น
·       บทสรุปเรื่องในสองสามย่อหน้าสุดท้ายต้องขมวดทุกอย่างเข้าด้วยกัน และต้องตอบข้อสงสัยที่เปิดประเด็นเอาไว้
·       อาจจะหักมุมในตอนจบ เพื่อสร้างสิ่งที่คาดไม่ถึงให้กับคนอ่าน
·       เขียนให้ตรงประเด็นและเรียบง่ายที่สุด

10 เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น

10 เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น

1. ต้องมีการระบายสภาพและบรรยากาศ (Local Color) หมายถึงการพรรณนาภาพอันใดอันหนึ่งเพื่อนำความคิดของผู้อ่าน ให้ซาบซึ้ง ในท้องเรื่อง ให้เห็นฉากที่เราวาดด้วยตัวอักษรนั้นชัดเจน

2. การวางเค้าเรื่อง (Plot) มีหลักใหญ่ๆอยู่ สองแบบดังนี้

แบบที่ 1 คือเริ่มนำเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่งที่จุด ก. แล้วพาผู้อ่านเกิดความพิศวงตามเส้น ก. ข. โดยจัดเรื่องให้มีความยุ่งยาก เกิด ความฉงนขึ้นทุกที่จนถึงปลายยอดที่ ข. ซึ่งในภาษาการประพันธ์เรียกว่า ไคลแมกซ์ (Climax) และจบเรื่องลงโดยเร็ว ให้ผู้อ่านโล่งใจ เข้า ใจ สะเทือนใจอย่างใดอย่างหนึ่ง และจบลงในจุด ค.
แบบที่ 2 เป็นแบบสองซ้อน คือเริ่มต้นด้วยเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วย้อนต้นกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นว่ามีมูลเหตุเป็นมาอย่างไร จากจุด ก. มายังจุด ข. แล้วดำเนินเรื่องต่อไปยังจุด ค. เช่นเดียวกับแบบ ที่ 1โดยขมวดปมไปตามระยะทาง ข. ค. สร้างความฉงนสนเท่ห์ จนถึงจุด ค. ซึ่งเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง และจบลงในจุด ง. โดยเร็ว

3. การจัดตัวละครและให้บทบาท เรื่องสั้นจะมีตัวละครน้อย จะต้องมีตัวหนึ่งซึ่งเป็นตัวสำคัญของเรื่อง ตัวละครนี้จะต้องมีบทบาทเพื่อ แสดงลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดเรื่องราวขึ้น

4. การบรรยายเรื่อง มี 2 วิธี วิธีแรก ให้ข้าพเจ้าหรือผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเรื่อง อีกวิธีให้บุรุษที่สาม ได้แก่ ตัวละครแสดงบทบาทของตนเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด

5. การเปิดเรื่อง เรื่องสั้นไม่ควรเปิดเรื่องให้อืดอาดยืดยาว มีวิธีเปิดเรื่องดังนี้
    ก. เปิดเรื่องโดยให้ตัวละครพูดกัน
    ข. โดยการบรรยายตัวละคร
    ค. โดยการว่างฉากและการบรรยายตัวละครประกอบ
    ง. โดยการบรรยายพฤติการณ์และตัวละคร
    จ. เปิดเรื่องโดยขมวดแนวคิด วิธีเปิดไม่บังคับตายตัวตามแต่ผู้เขียน

6. บทเจรจา หรือคำพูดของตัวละคร (Dialogue) ต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์พูดกัน และต้องให้เหมาะกับบทบาทและเหตุการณ์ที่เกี่ยว กับตัวละคร

7. ต้องมีความแน่น (Compression) คือพูดให้ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

8. ต้องทำตัวของตัวเราให้ชัดเจน คือก่อนเขียนต้องจินตนาการลักษณะตัวละครให้ชัดเจนก่อน แล้วเขียนตามที่เห็น จึงจะทำให้คนอ่านเห็น ตามด้วย

9. การให้ชื่อตัวละครและชื่อเรื่อง การตั้งชื่อตัวละคร ควรตั้งชื่อให้ใกล้เคียงกับชื่อคนจริงๆ ส่วนชื่อเรื่อง ควรพยายามตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่าน เกิดความอยากอ่าน โดยใช้คำสั้นๆ เพียง 2-3 คำ แต่ให้น่าทึ่ง


10. การทำบท คือการบรรยายให้ตัวละครแสดงบทบาทเช่นเดียงกับการแสดงละคร ต้องพรรณนาถึงกิริยาท่าทาง อาการรำพึงรำพัน ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

10 เทคนิคการพูดอย่างมือโปร

10 เทคนิคการพูดอย่างมือโปร
1. เตรียมพร้อมสำหรับการนำเสนอ

ควรเตรียมเนื้อหา เอกสาร และที่สำคัญคือสุขภาพ

2. วิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง
ดูพื้นฐานความรู้ เพื่อจะได้รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เหมาะสม
3.สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และอุปกรณ์
ควรไปถึงสถานที่ก่อนเวลา เพื่อจะได้ฝึกใช้อุปกรณ์เพื่อความคุ้นชิน
4. สร้างความเป็นกันเองกับผู้ฟัง
พูดจาทักทายผู้ฟังก่อนพูด เพื่อลดความตื่นเต้น
5. มีอารมณ์ขัน

ควรหาเรื่องขำขันเพื่อสร้างบรรยากาศ ลดความเครียด ความน่าเบื่อ


6. สังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง

กวาดสายตาไปทั่วๆ เพื่อมองดูปฏิกิริยาของผู้ฟัง เพื่อหาวิธีแก้ไขต่อไป

7. อย่าท่องจำหรืใช้วิธีอ่านให้คนฟัง
ควรฝึกซ้อมและทำความเข้าใจกับเนื่อหาก่อน เพราะการอ่านท่องจำจะทำให้ผู้ฟังเบื่อ
8. ลืมความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
หากกังวลจะทำให้ยิ่งเสียหาย ควรสงบสติอารมณ์และค่อยหาทางแก้ไข
9.อย่าแสดงอาการหรือคำพูดที่ดูหมิ่นคนฟัง
10. จินตนาการถึงความสำเร็จในการพูด

เช่น นึกถึงคนการได้รับเสียงปรบมือ คำชมเชย เพราะจะทำให้มีกำลังใจและไม่วิตกมากเกินไป
(ที่มา : http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538704810&Ntype=121)