วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น

การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น

ความหมาย  ป็นการเขียนเล่าเรื่องแบบหนึ่ง มีประมาณ 1000 ถึง 5000 คำเป็นอย่างมาก
ลักษณะ
·       ต้องสมบูรณ์ในตัวมันเอง
·       อ่านจบแค่ในเวลาชั่วครู่
·       ทุกคำในเรื่องต้องสำคัญ และส่งผลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเรื่อง
·       ประโยคเริ่มเรื่องเป็นสิ่งบอกถึงตลอดทั้งเรื่อง
·       จบเมื่อไคล์แมกซ์
·       ตัวละครมีเท่าที่จำเป็น

การแต่งเรื่อง
·     ชนิดผูกเรื่อง เป็นการแต่งโดยใช้พล็อตเป็นตัวเดินเรื่อง ใช้ความซับซ้อน น่าสงสัยของเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้คนอ่านสนใจติดตามว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นต่อไป และมักจะจบลงในลักษณะที่คนอ่านคาดไม่ถึง
·     ชนิดเพ่งไปที่ตัวละคร เป็นการนำเสนอเรื่องราวของตัวละครในเรื่อง โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับความต้องการ ความขัดแย้ง อุปสรรค และการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งของตัวละคร คนอ่านจะสนใจในตัวละคร อยากรู้ว่าเขาจะทำอะไร และเขาจะได้รับผลจากการกระทำนั้นอย่างไรในตอนจบ
·     เน้นฉากสถานที่ เป็นเรื่องที่เน้นถึงบรรยากาศของสถานที่ และเวลา ที่ต่างออกไปจากปกติที่ตัวละครเคยอยู่ หรือพบเห็น เป็นที่แปลกใหม่สำหรับตัวละคร และสถานที่นั้นได้สร้างความรู้สึกนึกคิด และมีผลกระทบต่อตัวละคร โดยมากมักจะเห็นในเรื่องระทึกขวัญ
·     แสดงแนวคิด นักเขียนแต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อนำเสนอแนวคิดของตัวเองในรูปแบบของเรื่องสั้นแทนการวิจารณ์แนะนำตรง ๆ เรื่องจะน่าสนใจ ถ้าเป็นหัวข้อที่กำลังอยู่ในการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม หรือเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งอยู่ในสังคมขณะนั้น เช่นประเด็นการทำแท้งเสรี ตั้งบ่อนเสรี นักศึกษาขายตัว ศีลธรรมกำลังเสื่อม ฯลฯ

ประเภท 
·       มีไม่ต่างไปจากนวนิยาย เรื่องรัก เรื่องลึกลับ เรื่องวิทยาศาสตร์ หรือ แฟนตาซี เรื่องประชดประชันหรือเสียดสีสังคม ฯลฯ

องค์ประกอบ
·       Plot พล็อตเรื่อง
·       Character ตัวละคร Setting ฉากสถานที่
·       Dialogue บทพูด
·       Point of view มุมมอง
·       Theme แสดงแก่นเรื่องที่ต้องการจะเสนอ

ก่อนจะเขียน
ควรจะมีข้อมูลพอเป็นไอเดียอยู่ จากนั้น
·     Theme หมายถึงสิ่งที่เรื่องต้องการจะบอกบางสิ่งบางอย่างที่อาจให้แง่คิด หรือ แสดงความเห็นของคนเขียน ไม่จำเป็นต้องเทศน์ หรือสอน อธิบายให้กับคนอ่านว่าเรื่องมันมีคุณธรรมเพียงใด คนอ่านจะเรียนรู้จากเรื่องที่เขียนเอง
·     Plot เพื่อให้คนอ่านคงความสนใจคุณต้องมีพล็อตเรื่อง ความขัดแย้งหรือการต่อสู้ดิ้นรนของตัวละครเอกที่เขาต้องเอาชนะ ไม่ว่าการต่อสู้นั้นจะเป็นระหว่างคนกับคน หรือเป็นการต่อสู้ของจิตใจตัวเอง ตัวละครเอกจะต้องชนะหรือสูญเสียด้วยตัวของเขาเอง ไม่ใช่จากความช่วยเหลือของคนอื่น ความขัดแย้งจะเป็นสิ่งนำเรื่องให้เดินต่อถึงไคล์แมกซ์ จนจบเรื่อง (เคล็ดลับในการจัดเรียงเหตุการณ์ก็คือ เริ่มจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผลกระทบต่อตัวละครเอกทีอยู่ดี ๆ ตามปกติ แล้วสถานการณ์ก็เลวร้าย จากนั้นตัวละครก็เอาชนะได้
·     โครงสร้างของเรื่อง คือ เข้าไปอยู่ในเรื่องเลย ไม่ต้องอารัมภบท ให้รู้ไปเลยว่าใครคือใคร เป็นเรื่องของใคร ซึ่งต้องรู้แล้วว่า จะใช้มุมมองแบบบุคคลที่ ๑ หรือบุคคลที่ ๓
( แบบบุคคลที่ ๑ เล่าแบบคนเล่าอยู่ในเหตุการณ์หรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเขาเองใช้คำแทนตัวว่า ฉัน ผม ข้าพเจ้า แบบบุคคลที่สาม ถ้าเลือกแบบนี้ ควรจะใช้มุมมองของตัวละครสำคัญเป็นคนเล่า)
·       สร้างตัวละคร ที่เหมาะสม และน่าสนใจ ทำให้คนอ่านอยากรู้เรื่องของเขา
·       เลือกว่าจะให้เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อไหร่
·       ใช้บทพูดให้เร้าใจ กินใจ แสดงตัวตนของตัวละครได้อย่างเหมาะสม
·     การเล่าเรื่องและการบรรยาย ให้บอกแต่สิ่งที่จำเป็นใช้เป็นประโยชน์ในเรื่อง อย่าเยิ่นเย่อ เพราะเรื่องสั้นจะจำกัดความยาวของเรื่อง
( วิธีจะรู้ว่ามีประโยชน์หรือไม่ ให้ลองตัดทิ้งคำหรือประโยคนั้นๆ ออกไป แล้วดูว่ายังสร้างความเข้าใจให้กับคนอ่านหรือไม่ ถ้าคนอ่านเข้าใจและสามารถจินตนาการได้ก็เอาออก )
·       ควรจะมุ่งไปที่ จุดขัดแย้ง เพียงอย่างเดียว ที่ตัวละครสำคัญจะต้องเอาชนะให้ได้
·       เริ่มต้นสร้างเรื่องอย่างง่าย ๆ
·       หาตัวละครมาใส่ความต้องการบางอย่างให้เขา ( พอใจหรือไม่พอใจในสถานภาพของตัวเอง)
·       เติมอุปสรรค หรือปัญหา ที่ขัดขวางไม่ให้เขาไปถึงความต้องการนั้น
·       บีบคั้นเขาด้วยความยากลำบากหรือความผิดพลาดที่มากขึ้น
·       พาออกมาจากสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความสามารถของเขาเอง
·       จบเรื่อง

คำแนะนำ
·     เกาะติดกับขนาดที่จำกัดของแบบในการเขียนเรื่องสั้น โดยทั่วไปจะมีความจำกัดของกรอบและตัวละคร บทพูดมีพลังจูงใจ ฉากสถานที่ต้องการ แต่ไม่จำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดมาก หลีกเลี่ยงพล็อตย่อย
·     การเปิดเรื่องไม่แน่นอนตายตัว ว่าเป็นการบรรยาย และการสังเกตประจำ ยกเว้นการบรรยายนั้นจะแสดงถึงสิ่งที่ถูกรบกวนในขณะนี้ ก่อนที่การกระทำเริ่มขึ้น แต่อย่าให้มาก
·       เริ่มเรื่องสั้นด้วยกระตุ้นเหตุการณ์ ที่ชักจูงไปสู่ความเข้มข้น     
·       เรื่องสั้นควรจะถูกเล่าจากมุมมองของคน ๆ คนเดียว
·       หลีกเลี่ยงความเกินพอดี ทุกรายละเอียดจะต้องเป็นประเด็นสู่พล็อต
·       เหมือนเรื่องแต่งประเภทอื่นที่ต้องให้ตัวละคร ดิ้นรนที่หรือลอยคอท่ามกลางความเลวร้าย หรือมีทางเลือกที่ย่ำแย่พอกัน
·       ให้ตัวละคร มีข้อบกพร่อง อ่อนแอ และมุ่งไปยังข้อสรุปที่คาดไม่ถึง
·       อย่ายืดเยื้อในตอนจบ
·     โดยทั่วไปเรื่องสั้นมักจะเกี่ยวกับ ความขัดแย้ง การตัดสินใน หรือการค้นพบ ต้องมีสิ่งสำคัญเป็นประเด็นหลักสำหรับตัวละครเอก พล็อตขัดแย้งต้องถูกวางเพื่อให้ตัวละครอื่นเป็นตัวขัดขวาง และเผชิญหน้าในตอนไคล์แมกซ์ ถ้าไคล์แมกซ์ของเรื่องสั้นมีตัวละครเอกกำลังตัดสินใจ การตัดสินใจนี้ต้องห่างจากการเข้าถึงผลที่จะตามมาภายหลัง( เพราะมันไม่ควรจะมีอะไรมากไปกว่านี้แล้ว ) ถ้าเรื่องจบลงด้วยตัวละครค้นพบความจริงบางอย่าง ความจริงนี้ควรจะเป็นสิ่งที่ที่ทำให้ชีวิตของตัวละครเปลี่ยนไป

เคล็ดลับเมื่อจะเขียนเรื่องสั้น
·       ให้มีตัวละครในเรื่องน้อยที่สุด
·       ร่างรายการถึงตัวละคร และ สิ่งที่อยากจะให้เกิดในเรื่องอย่างสั้น ๆ
·       ในแผนการเขียนต้องเตรียมย่อหน้าที่จะเสนอฉากสถานที่และการแนะนำตัวละครให้คนอ่านรู้จัก
·       การเปิดเรื่องต้องมีผลกระทบใจคนอ่าน
·       หัวใจสำคัญต้องรู้ว่าเรื่องเกิดที่ไหน เกี่ยวกับอะไร และมุ่งไปสู่ประเด็นนั้น อย่าออกนอกเรื่องในสิ่งไม่จำเป็น
·       บทสรุปเรื่องในสองสามย่อหน้าสุดท้ายต้องขมวดทุกอย่างเข้าด้วยกัน และต้องตอบข้อสงสัยที่เปิดประเด็นเอาไว้
·       อาจจะหักมุมในตอนจบ เพื่อสร้างสิ่งที่คาดไม่ถึงให้กับคนอ่าน
·       เขียนให้ตรงประเด็นและเรียบง่ายที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น