วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เนื้อหาโครงงาน

ชื่อโครงงาน : Present your life

ประเภทของโครงงาน : โครงงานสื่อการเรียนการสอน

ชื่อผู้ทำโครงงาน :
1.นางสาวนิมมิตา            นิจจันพันธุ์ศรี               ม.5/11        เลขที่ 18
2.นางสาววรรณวนัช       ใจห้าว                             ม.5/11        เลขที่ 20
3.นางสาวอรัญญา            อ่อนนวล                       ม.5/11        เลขที่ 22

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์กิติมา เพชรทรัพย์

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม :              -

ระยะเวลาดำเนินงาน : พฤษภาคม-กันยายน 2557

ที่มา แนวคิด และประโยชน์ : ปัญหาการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษถือได้ว่าเป็นปัญหาหลักที่สำคัญของเด็กไทย เนื่องจากเด็กไทยมีบุคลิกที่ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าที่จะใช้สำเนียงที่ถูกต้อง เพราะกลัวการถูกล้อเลียนจากกลุ่มเพื่อน ทำให้เมื่อได้รับมอบหมายงานให้นำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษเด็กจึงเกี่ยงกันที่จะออกมานำเสนอ ทำให้การนำเสนองานไม่มีประสิทธิภาพ และปัญหาสำคัญคือ เด็กไม่รู้ว่าควรเริ่มจากตรงไหน และวางแผนการนำเสนออย่างไร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีเสริมสร้างความรู้ในวิธีการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ ความกล้าแสดงออกให้กับกลุ่มนักเรียน

วัตถุประสงค์ :
1.พัฒนาสื่อเพื่อเสริมสร้างทัศนคติของเด็กไทยที่มีต่อการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ
2.เสริมสร้างความมั่นใจ และความกล้าแสดงออก
3.เพื่อสำรวจความพึงพอใจและเผยแพร่ผลงานสู่สังคมออนไลน์

ขอบเขตของโครงงาน : ผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเยาวชน และเผยแพร่ผ่านทางสังคมออนไลน์ เช่น youtube

หลักการและทฤษฎี : แก้ปัญหาโดยการสร้างสื่อวิดีโอ เพื่อแนะแนวทางในการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

วิธีดำเนินงาน :
 - อุปกรณ์ที่ต้องใช้
                    ซอฟแวร์ : Ulead Video Studio 
                    ฮาร์ดแวร์ : กล้องวิดีโอ, ไมโครโฟนดูดเสียง, Flash Drive , คอมพิวเตอร์
 - แนวทางการดำเนินงาน
1.เลือกหัวข้อโครงงาน
2.ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
3.จัดทำข้อเสนอโครงงาน
4.จัดทำโครงงานประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
-วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
-เลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา
-ดำเนินการแก้ปัญหา
-ตรวจสอบและปรับปรุงวิธีการ
5.เขียนรายงาน
6.นำเสนอและแสดงผลงานของโครงงาน
 - งบประมาณ
                    -

ขั้นตอนปฏิบัติงาน : ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
ลำดับ
กิจกรรมที่ทำ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
รายงานผล
(ครั้งที่)
หมายเหตุ
1
2
3
4
1
คิดหัวข้อเรื่อง
พ.ค. 2557
นิมมิตา, วรรณวนัช, อรัญญา





2
รวบรวมข้อมูล
มิ.ย. 2557
นิมมิตา, วรรณวนัช, อรัญญา





3
จัดทำเค้าโครง
ก.ค. 2557
นิมมิตา, วรรณวนัช, อรัญญา





4
วางโครงเรื่อง
ก.ค. 2557
อรัญญา





5
วางตัวแสดง
ก.ค. 2557
นิมมิตา





6
ถ่ายวิดีโอตามโครงเรื่อง
ส.ค. 2557
นิมมิตา, วรรณวนัช, อรัญญา





7
ตัดต่อวิดีโอ
ส.ค. 2557
วรรณวนัช





8
จัดทำสื่อ
ส.ค. 2557
นิมมิตา, วรรณวนัช, อรัญญา





9
ตรวจสอบความถูกต้อง
ส.ค. 2557
นิมมิตา, วรรณวนัช, อรัญญา





10
นำเสนอผลงาน
ก.ย. 2557
นิมมิตา, วรรณวนัช, อรัญญา






ผลที่คาดว่าจะได้รับ : สามารถปรับทัศนคติในการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษของเยาวชน ผ่านสื่อการเรียนการสอน และเสริมสร้างความมั่นใจและความกล้าแสดงออกให้แก่เยาวชน 

เอกสารอ้างอิง :
การนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://thai2eng.blogspot.com/.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2557.
การนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.pattanakit.net/index.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2557.
การเขียนบทเบื้องต้น. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/chaipon.
สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2557.
การใช้โปรแกรม Ulead Video Studio. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://ponpimonnamdee.blogspot.com/.
สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2557. 

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สาธิตการใช้ซอฟแวร์

การ Import File ภาพใน Ulead

ในการ import ไฟล์ภาพเข้ามานั้นให้เราไปเลือกที่ Gallery ซึ่งใน Gallery จะประกอบไปด้วยโหมดต่างๆ ในการ import ดังนี้ Video, Image, Audio , Color , Transaction , Video Filter , Title , Decoration , Flash Animation ซึ่งในที่นี้เราต้องการที่จะ import ไฟล์ภาพเข้ามา ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้


1. ทำการ import ไฟล์ภาพเข้ามาโดยให้เราทำการเลือกไฟล์ภาพเข้ามาที่ upload image หลังจากนั้นก็จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาเพื่อให้เราเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ เมื่อเลือกไฟล์ภาพที่เราต้องการได้แล้ว ก็ให้เราคลิกปุ่ม ok

2. เมื่อทำการคลิกปุ่ม ok แล้วก็จะปรากฎภาพที่เราเลือกขึ้นมา ซึ่งในการ import ไฟล์ภาพนั้นเราสามารถที่จะทำการ import ไฟล์ภาพเข้ามาได้หลายภาพตามที่เราต้องการ ซึ่งไฟล์ภาพที่เรา import เข้ามานั้นจะจัดเก็บใน Gallery โดยอัตโนมัติ

เรียบเรียงโดย นางสาววรรณวนัช ใจห้าว

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ความเป็นมาของโครงงาน
เนื่องจากวิชาภาษาไทย เป็นวิชาที่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรประถมศึกษาปีที่ 2 มีเนื้อหาวิชา
เกี่ยวกับคำที่มี ความหมายตรงข้ามกับคำคล้องจ้อง ภาษามาตรฐาน-ภาษาถิ่น และในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาททางด้านการศึกษามากขึ้น ส่งผลให้มีสื่อการเรียนการสอนเกิดขึ้นมากมาย โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนไดรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการการสร้างสื่อการเรียนการสอนไดง่ายและไม่ซับซ้อน ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดจัดทำสื่อการเรียนการสอนโดยใช้ โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยภายในสื่อจะมีเนื้อหา ตลอดจนแบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังเรียน

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.       เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007
2.       เพื่อนำสื่อที่ได้มาเป็นสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
3.       เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตนเอง

สมมุติฐานของการดำเนินงาน(ถ้ามี)             -

ขอบเขตของการดำเนินงาน
1.       สื่อการเรียนการสอนวิชา ภาษาไทย จำนวน 3 หน่วยการเรียน
-          หน่วยการเรียนที่ 17 คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน
-          หน่วยการเรียนที่ 18 คำคล้องจ้อง
-          หน่วยการเรียนที่19 ภาษามาตรฐาน-ภาษาถิ่น
2.       แบบสอบถามความพึงพอใจ
3.       แผ่นซีดีสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.       โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007
2.       PowerPoint เพื่อการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 เรียนรู้หลักการออกแบบและใช้เพาเวอร์พอยท์จากข้อผิดพลาด
- งานเปิดไม่ได้
- จัดเรียงสไลด์ไม่ดีทำให้ผู้ฟังสับสน ควรจัดเรียงสไลด์ตามลำดับงาน เริ่มสไลด์แรกด้วยชื่อเรื่องที่นำเสนอ ผู้จัดทำ ต่อไปคือบอกประโยชน์ หัวข้อนำเสนอโดยเรียงเนื้อหาตามลำดับการนำเสนอ ส่วนสไลด์สุดท้ายควรเป็นการสรุปและอาจปิดท้ายด้วยคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ
- การใช้ขนาดและสีของตัวอักษรไม่เหมาะสม ทำให้อ่านยาก ผู้ฟังเกิดความสับสน ควรเลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มองเห็นชัด ควรขีดเส้นใต้หรือใช้ตัวหนาสำหรับข้อความที่ต้องการเน้น ตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ควรใช้พิมพ์ใหญ่ทั้งหมดเพราะอ่านยาก และพื้นหลังควรตัดกับตัวอักษร
- ดูแล้วเข้าใจยาก เพราะมีข้อมูลหรือตัวอักษรมากเกินไปในหนึ่งสไลด์ ควรเน้นเฉพาะข้อมูลสำคัญ จับใจความสำคัญ
- การใช้การแสดงผลพิเศษ (Effect) ที่มากเกินไป ทำให้ไม่น่าเชื่อถือน่ารำคาญ
2.2 ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการใช้เพาเวอร์พอยท์
- การใช้เครื่องฉาย (LCD Projector) หลังติดตั้งเครื่องฉาย ควรทดลองเปิดเครื่องฉายเพื่อปรับภาพตามต้องการ แก้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนการนำเสนอ
- การติดตั้งคอมพิวเตอร์กับเครื่องฉาย และตั้งค่าก่อนการนำเสนอ
- แสดงความเป็นมืออาชีพในการนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี น่าเชื่อถือ เช่นการใช้คำ การสั่งลัดเพาเวอร์พอยท์
- รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

วิธีดำเนินงาน
1.       ศึกษาหัวข้อโครงงาน
2.       ขออนุมัติโครงงาน
3.       ออกแบบการสร้างชิ้นงาน
4.       จัดทำสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
5.       จัดทำคู่มือ/เอกสารประกอบโครงงาน
6.       จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจและวิเคราะห์ข้อมูล
        โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์หาค่า
ค่าร้อยละ โดยใช้สูตร
ร้อยละ = (N/X)(100)
เมื่อ X แทน จำนวนผู้กรอกแบบสอบถาม
เมื่อ N แทน จำนวนผู้กรอกแบบสอบถามทั้งหมด

ผลการดำเนินงาน
การจัดทำโครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยผู้จัดทำได้ทดสอบใช้สื่อการสอน และสำรวจความพึงพอใจต่อสื่อการสอน ดังนี้
1.       ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการทดลองใช้
 ผลการทดลองใช้สื่อการเรียนการสอน แยกเป็นบทเรียน 3 บท เรียงตามลำดับการเรียนรู้
2.       ความพึงพอใจ
ได้จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจ โครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนณัฏฐเวศม์
จากการสำรวจความพึงพอใจของ นักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554
ของโรงเรียนณัฏเวศม์ จำนวน 29 คน ที่มีต่อ โครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
ตารางที่ 1 ร้อยละของผู้ประเมินความพึงพอใจแยกตามเพศ
เพศ
ชาย
หญิง
จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
16
13
คิดเป็นร้อยละ
55.17
44.83

ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของ นักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 ของโรงเรียนณัฏฐเวศม์ จำนวน 29 คน ที่มีต่อ โครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
หัวข้อประเมิน
มากที่สุด(5)
มาก(4)
ปานกลาง(3)
พอใช้(2)
น้อย(1)
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
สีสันสวยงาม
20
68.96
9
31.03






ตัวอักษรอ่านง่าย
15
51.72
14
48.27






เข้าใจง่าย
18
62.06
11
37.93






น่าสนใจ
20
68.96
9
31.03






ภาพสวยงาม
21
72.41
8
27.59






จากตารางที่ 2 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ เรื่อง สีสันสวยงาม ตัวอักษรอ่านง่าย
เข้าใจง่ายน่าสนใจ อยู่ในระดับดีมาก ภาพสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
                จากการจัดทำ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โดยนำมาใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 ของโรงเรียนณัฏฐเวศม์ ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จำนวน 29 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยและแบบสอบถามความพึงพอใจผู้ทดลองใช้ จำนวน 5 ข้อ แบบ 5 ระดับ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ เรื่อง สีสันสวยงาม ตัวอักษรอ่านง่าย เข้าใจง่ายน่าสนใจ อยู่ในระดับดีมาก ภาพสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด
ปัญหาและอุปสรรค 
จากการทดลองและการนำไปใช้งาน โครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยมีการทำงานอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีข้อบกพร่องบางส่วน คือ
1.       ภาพเคลื่อนไหว ใช้เวลานานเกินไป
2.       ภาพพื้นหลังบางส่วนทำให้ตัวอักษรมองไม่ชัด
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1.       ปรับเวลาในการทำภาพเคลื่อนไหวให้เร็วขึ้นและเหมาะสมกับข้อมูล
2.       ปรับภาพพื้นหลังให้เหมาะสมเพื่อมองข้อความได้ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2536.
เกษมชาติ ทองชา. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น (มหาชน) , 2540.
กุลภัทร กรแก้ว. คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิทยบรรณ , 2545.
จันทร์เพ็ญ งานพรม คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ. นนทบุรี : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์ , 25450.
บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์. คอมพิวเตอร์สำหรับผู้เริ่มต้นเริ่มต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ เอสแอนด์เคบุคส์ , 2544.
บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์. คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ เอสแอนด์เคบุคส์ 2539.
ศิริพร สาเกทอง. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2528.
สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล. เปิดโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด2545.
สิทธิชัย ประสานวงศ์. เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน) , 2545.
http ://www.nukul.ac.th/it/content/bib.html

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน
ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงงานครั้งต่อไป
1.       ควรแทรกวีดิโอแสดงขั้นตอนการทำงาน

2.       มีเสียงบรรยาย