วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติไอศกรีมในประเทศไทย

ไอศกรีมเริ่มแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างรัชกาลที่ 5 หลังจากที่พระองค์ทรงเสด็จฯ ไปเยือน อินเดีย ชวา สิงคโปร์ ทรงสั่งนำเข้าเครื่องทำน้ำแข็งที่ผลิตไอศกรีมจากสิงคโปร์เข้ามาเพื่อเจ้านายในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น ซึ่งในตอนนั้นไอศกรีมในพระบรมมหาราชวังทำด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน และเสิร์ฟในแก้วแชมเปญ ต่อมาชาวบ้านคนจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย นำสูตรไปดัดแปลง ทำไอกครีมขายที่เยาวราช ในช่วงและต่อมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 เปลี่ยนจากน้ำมะพร้าวเป็นน้ำผสมสีและน้ำตาล เรียก "ไอศกรีมหลอด" และพัฒนาต่อมาเป็น "ไอศกรีมตัด
        
ไอศกรีมหลอด
 

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมา

การรับประทานไอศกรีมน่าจะเริ่มต้นกันมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรห์ แห่งอนาจักรโรมันที่ได้พระราชทานเลี้ยงไอศกรีมแก่เหล่าทหารหาญที่อยู่ในกองทัพของพระองค์ แต่ในขณะนั้นไอศกรีมเกิดจากเป็นการนำหิมะมาผสมเข้ากับน้ำผึ้งและผลไม้ ต่อมาเรียกไอศกรีมประเภทนี้ว่า เชอร์เบ็ท(Sherbet)

Nero 1.JPG


บ้างก็ว่าบรรพชนของคนจีนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 4,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งลักษณะของไอศกรีมในประเทศจีนทำมาจากข้าวบดผสมกับนมสดที่เย็นจนเป็นน้ำแข็งและได้มีการสอนทำไอศกรีมให้กับคนอินเดียและชาวเปอร์เชีย การก่อกำเนิดไอศกรีมตามตำนานประเทศจีนระบุว่า เป็นเรื่องของความบังเอิญ ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีนในสมัยนั้นเพิ่งจะมีการรู้จักรีดนมจากสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในฟาร์ม เมื่อรีดออกมาจำนวนมากก็บริโภคไม่หมด ประกอบกับน้ำนมเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมากๆ พวกคนชั้นสูงเห็นท่าไม่ดี จึงเกิดแนวคิดนำน้ำนมไปหมกซ่อนไว้ในหิมะ เพื่อต้องการที่จะถนอมน้ำนมเอาไว้รับประทานได้นานๆ จึงเกิดเป็นไอศกรีมขึ้น แม้จะไม่ได้มีลักษณะเหมือนกับไอศกรีมอย่างทุกวันนี้