วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ความเป็นมาของโครงงาน
เนื่องจากวิชาภาษาไทย เป็นวิชาที่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรประถมศึกษาปีที่ 2 มีเนื้อหาวิชา
เกี่ยวกับคำที่มี ความหมายตรงข้ามกับคำคล้องจ้อง ภาษามาตรฐาน-ภาษาถิ่น และในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาททางด้านการศึกษามากขึ้น ส่งผลให้มีสื่อการเรียนการสอนเกิดขึ้นมากมาย โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนไดรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการการสร้างสื่อการเรียนการสอนไดง่ายและไม่ซับซ้อน ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดจัดทำสื่อการเรียนการสอนโดยใช้ โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยภายในสื่อจะมีเนื้อหา ตลอดจนแบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังเรียน

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.       เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007
2.       เพื่อนำสื่อที่ได้มาเป็นสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
3.       เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตนเอง

สมมุติฐานของการดำเนินงาน(ถ้ามี)             -

ขอบเขตของการดำเนินงาน
1.       สื่อการเรียนการสอนวิชา ภาษาไทย จำนวน 3 หน่วยการเรียน
-          หน่วยการเรียนที่ 17 คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน
-          หน่วยการเรียนที่ 18 คำคล้องจ้อง
-          หน่วยการเรียนที่19 ภาษามาตรฐาน-ภาษาถิ่น
2.       แบบสอบถามความพึงพอใจ
3.       แผ่นซีดีสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.       โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007
2.       PowerPoint เพื่อการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 เรียนรู้หลักการออกแบบและใช้เพาเวอร์พอยท์จากข้อผิดพลาด
- งานเปิดไม่ได้
- จัดเรียงสไลด์ไม่ดีทำให้ผู้ฟังสับสน ควรจัดเรียงสไลด์ตามลำดับงาน เริ่มสไลด์แรกด้วยชื่อเรื่องที่นำเสนอ ผู้จัดทำ ต่อไปคือบอกประโยชน์ หัวข้อนำเสนอโดยเรียงเนื้อหาตามลำดับการนำเสนอ ส่วนสไลด์สุดท้ายควรเป็นการสรุปและอาจปิดท้ายด้วยคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ
- การใช้ขนาดและสีของตัวอักษรไม่เหมาะสม ทำให้อ่านยาก ผู้ฟังเกิดความสับสน ควรเลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มองเห็นชัด ควรขีดเส้นใต้หรือใช้ตัวหนาสำหรับข้อความที่ต้องการเน้น ตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ควรใช้พิมพ์ใหญ่ทั้งหมดเพราะอ่านยาก และพื้นหลังควรตัดกับตัวอักษร
- ดูแล้วเข้าใจยาก เพราะมีข้อมูลหรือตัวอักษรมากเกินไปในหนึ่งสไลด์ ควรเน้นเฉพาะข้อมูลสำคัญ จับใจความสำคัญ
- การใช้การแสดงผลพิเศษ (Effect) ที่มากเกินไป ทำให้ไม่น่าเชื่อถือน่ารำคาญ
2.2 ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการใช้เพาเวอร์พอยท์
- การใช้เครื่องฉาย (LCD Projector) หลังติดตั้งเครื่องฉาย ควรทดลองเปิดเครื่องฉายเพื่อปรับภาพตามต้องการ แก้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนการนำเสนอ
- การติดตั้งคอมพิวเตอร์กับเครื่องฉาย และตั้งค่าก่อนการนำเสนอ
- แสดงความเป็นมืออาชีพในการนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี น่าเชื่อถือ เช่นการใช้คำ การสั่งลัดเพาเวอร์พอยท์
- รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

วิธีดำเนินงาน
1.       ศึกษาหัวข้อโครงงาน
2.       ขออนุมัติโครงงาน
3.       ออกแบบการสร้างชิ้นงาน
4.       จัดทำสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
5.       จัดทำคู่มือ/เอกสารประกอบโครงงาน
6.       จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจและวิเคราะห์ข้อมูล
        โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์หาค่า
ค่าร้อยละ โดยใช้สูตร
ร้อยละ = (N/X)(100)
เมื่อ X แทน จำนวนผู้กรอกแบบสอบถาม
เมื่อ N แทน จำนวนผู้กรอกแบบสอบถามทั้งหมด

ผลการดำเนินงาน
การจัดทำโครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยผู้จัดทำได้ทดสอบใช้สื่อการสอน และสำรวจความพึงพอใจต่อสื่อการสอน ดังนี้
1.       ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการทดลองใช้
 ผลการทดลองใช้สื่อการเรียนการสอน แยกเป็นบทเรียน 3 บท เรียงตามลำดับการเรียนรู้
2.       ความพึงพอใจ
ได้จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจ โครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนณัฏฐเวศม์
จากการสำรวจความพึงพอใจของ นักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554
ของโรงเรียนณัฏเวศม์ จำนวน 29 คน ที่มีต่อ โครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
ตารางที่ 1 ร้อยละของผู้ประเมินความพึงพอใจแยกตามเพศ
เพศ
ชาย
หญิง
จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
16
13
คิดเป็นร้อยละ
55.17
44.83

ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของ นักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 ของโรงเรียนณัฏฐเวศม์ จำนวน 29 คน ที่มีต่อ โครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
หัวข้อประเมิน
มากที่สุด(5)
มาก(4)
ปานกลาง(3)
พอใช้(2)
น้อย(1)
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
สีสันสวยงาม
20
68.96
9
31.03






ตัวอักษรอ่านง่าย
15
51.72
14
48.27






เข้าใจง่าย
18
62.06
11
37.93






น่าสนใจ
20
68.96
9
31.03






ภาพสวยงาม
21
72.41
8
27.59






จากตารางที่ 2 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ เรื่อง สีสันสวยงาม ตัวอักษรอ่านง่าย
เข้าใจง่ายน่าสนใจ อยู่ในระดับดีมาก ภาพสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
                จากการจัดทำ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โดยนำมาใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 ของโรงเรียนณัฏฐเวศม์ ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จำนวน 29 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยและแบบสอบถามความพึงพอใจผู้ทดลองใช้ จำนวน 5 ข้อ แบบ 5 ระดับ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ เรื่อง สีสันสวยงาม ตัวอักษรอ่านง่าย เข้าใจง่ายน่าสนใจ อยู่ในระดับดีมาก ภาพสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด
ปัญหาและอุปสรรค 
จากการทดลองและการนำไปใช้งาน โครงงาน สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยมีการทำงานอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีข้อบกพร่องบางส่วน คือ
1.       ภาพเคลื่อนไหว ใช้เวลานานเกินไป
2.       ภาพพื้นหลังบางส่วนทำให้ตัวอักษรมองไม่ชัด
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1.       ปรับเวลาในการทำภาพเคลื่อนไหวให้เร็วขึ้นและเหมาะสมกับข้อมูล
2.       ปรับภาพพื้นหลังให้เหมาะสมเพื่อมองข้อความได้ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2536.
เกษมชาติ ทองชา. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น (มหาชน) , 2540.
กุลภัทร กรแก้ว. คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิทยบรรณ , 2545.
จันทร์เพ็ญ งานพรม คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ. นนทบุรี : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์ , 25450.
บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์. คอมพิวเตอร์สำหรับผู้เริ่มต้นเริ่มต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ เอสแอนด์เคบุคส์ , 2544.
บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์. คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ เอสแอนด์เคบุคส์ 2539.
ศิริพร สาเกทอง. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2528.
สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล. เปิดโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด2545.
สิทธิชัย ประสานวงศ์. เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน) , 2545.
http ://www.nukul.ac.th/it/content/bib.html

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน
ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงงานครั้งต่อไป
1.       ควรแทรกวีดิโอแสดงขั้นตอนการทำงาน

2.       มีเสียงบรรยาย

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การใช้โปรแกรม ULEAD VIDEO STUDIO เบื้องต้น

การใช้โปรแกรม ULEAD VIDEO STUDIO เบื้องต้น

ULEAD VIDEO STUDIO 11 เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนไปถึงระดับมืออาชีพ รวมไปถึงการทำภาพสไลด์โชว์ การนำเสนองาน presentation โปรแกรม ULEAD VIDEOSTUDIO 11 นั้นมีเทคนิคและ effect ต่างๆมากมาย



1. ก่อนอื่นเราต้องติดตั้งโปรแกรมกันก่อนนะครับ เมื่อติดตั้งตัวโปรแกรมแล้ว ก็เปิดการใช้งาน
เลือกที่ VideoStudio Editor เพื่อสร้างไฟล์วีดีโอ




2. ตรงส่วนนี้จะมีให้เลือกหน้าตาในการปรับแต่งไฟล์วีดีโอ



3. จากนั้นให้ Right Click ที่ช่องแนบไฟล์ เพื่อเลือกไฟล์ภาพ หรือวีดีโอ



4. เลือกไฟล์ที่ต้องการใส่ในวีดีโอ สามารถลากเมาส์เพื่อเลือกทีละมากกว่าหนึ่งไฟล์ จากนั้นกด Open

5. หากต้องการใส่เพลงให้กับวีดีโอ ก็ให้ Right Click แล้วเลือกแนบไฟล์ Audio

6. เลือกเพลงที่ต้องการ แล้วกด Open
ข้อควรจำ
- หมั่นเซฟไฟล์งานเป็นระยะๆ เพื่อว่าหากมีข้อขัดข้อง โปรแกรมไม่ทำงาน เรายังสามารถเรียกงานเดิมกลับมาทำใหม่ได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ !
- ไฟล์ที่ได้มา จะเป็นนามสกุล .VSP เป็นไฟล์งานของโปรแกรม Ulead
- นอกจากไฟล์ภาพแล้ว ยังสามารถแนบไฟล์วีดีโอ มาสร้างไฟล์ร่วมกันได้

7.. จากนั้นเป็นการปรับแต่งไฟล์วีดีโอที่จะทำ
- Effect : การใส่แอนนิเมชั่นให้รูปภาพและไฟล์วีดีโอ

- อีเฟคระหว่างไฟล์ เราสามารถจับลากให้สั้นยาวได้ตามต้องการ แต่จะต้องคอยปรับความยาวของภาพและไฟล์ด้วยตามลำดับ เนื่องจากอีเฟคเหล่านี้จะย่นความยาวของไฟล์โดยอัตโนมัติ เพื่อแทรกแอนนิเมชั่น
Tips :
เนื่องจากมีอีเฟคมากมายให้เลือก แต่มิใช่ว่าเราจะใช้ทั้งหมด เราสามารถเลือกเพียงแค่ไม่กี่อย่าง ที่เราชอบและใช้บ่อย ไว้ในหมวดที่ฉันชื่นชอบ เพื่อเรียกใช้ได้สะดวกขึ้น ด้วยการ Right Click –> Add to My Favorites


- หลังจากเพิ่มอีเฟคหมดแล้ว ก็ปรับแต่งความยาวของแต่ละไฟล์ตามต้องการ


- Title : การใส่ข้อความลงในวีดีโอ
เป็นการใส่ข้อความต่างๆ ลงบนหน้าจอวีดีโอ สำหรับยูหลีด11 สามารถใส่ภาษาจีนได้ แต่ยูหลีด10 ไม่แสดงผลภาษาจีน
แอนนิเมชั่นข้อความ ที่มากับตัวโปรแกรม ก็มีให้เลือกสรรมากมายอยู่แล้ว เราสามารถเลือกแอนนิเมชั่นที่เราต้องการ แล้วจับลากลงช่อง Text

- Doubble Click ที่กล่องข้อความ เพื่อทำการแก้ไขปรับแต่งต่างๆ


การปรับตำแหน่งของกล่องข้อความ

การปรับแต่งฟอนต์ และอีเฟคต่างๆ ของข้อความ

- การปรับแต่งแอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ ในการแสดงผลคลิ๊กที่ Apply animation เพื่อให้แสดงผลแอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ

- การปรับแต่งเพิ่มเติม ของการแสดงผลแอนนิเมชั่น
ในการแก้ไขข้อความ ให้ Doubble Click ที่กล่องข้อความที่หน้าจอ จึงจะสามารถเปลี่ยนข้อความได้

- กล่องข้อความก็สามารถลากสั้นยาวได้ตามที่ต้องการ

- Audio : การปรับแต่งไฟล์ออดิโอของวีดีโอ
เป็นการปรับแต่งต่างๆ ให้กับไฟล์เสียง เช่น ปรับเสียง หรืออีเฟคอื่นๆ เพิ่มเติม
คลิ้กที่ไฟล์ออดิโอ

ในส่วนนี้คือการปรับแต่ง ส่วนของการแยกลำโพงซ้ายขวานั้นเหมาะกับการสร้างวีดีโอ จากไฟล์วีดีโอที่มีการพากษ์เสียงมากกว่าหนึ่งภาษา หรือไฟล์คาราโอเกะ เราสามารถปรับตรงนี้เพื่อเลือกภาษาเดียว หรือเลือกแค่เสียงคาราโอเกะ

เมื่อเสร็จสิ้นการปรับแต่งเบื้องตน ก็ถึงลำดับของการสร้างไฟล์วีดีโอ คลิ้กที่ Share เพื่อสร้างไฟล์

- เลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการจะสร้าง ในกรณีของการสร้างไฟล์วีดีโอ สำหรับทำแผ่นวีซีดี แนะนำให้เลือก mpeg2 ซึ่งเป็นไฟล์ชนิดเดียวกันกับ mpeg1 แต่คุณภาพรูปภาพจะชัดกว่า mpeg1 หนึ่งเท่าตัวหรือจะเลือกเป็น SVCD หรืออื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

- หลังจากนั้นก็ปล่อยให้โปรแกรมเรนเดอร์ไฟล์วีดีโอ (สร้างไฟล์วีดีโอ) ในระหว่างนี้ ไม่ควรเปิดโปรแกรมอื่นๆ มาใช้งาน เพื่อว่าจะได้ไฟล์ที่มีคุณภาพดีที่สุด

- ลูกเล่นเพิ่มเติม !
การสร้างไฟล์วีดีโอ ยังสามารถเพิ่มฉากหลังให้กับวีดีโออีกด้วย ด้วยการแยกการแนบไฟล์ไว้สองบรรทัด โดยที่บรรทัดบนคือฉากหลัง บรรทัดล่างคือฉากหลัก
(ในการแนบไฟล์ภาพหรือวีดีโอ มันอาจจะอยู่บนบรรทัดบนหมด เพียงแค่จับลากมาไว้บรรทัดล่าง ก็สามารถแยกได้ จากนั้นก็ตามปรับลำดับภาพต่างๆ ตามที่ต้องการ

- สำหรับฉากหลัง การเพิ่มอีเฟค จะเป็นดังเช่นด้านบนที่อธิบายไว้ แต่สำหรับฉากหลัก การเพิ่มแอนนิเมชั่นจะไม่เหมือนกัน
เริ่มแรกคือการปรับขนาดหน้าจอฉากหลัก ด้วยการคลิ้กที่หน้าต่างนั้นๆ แล้วลากขนาดตามที่ต้องการ



- เมื่อปรับขนาดตามที่ต้องการแล้ว และปรับแต่งแอนนิเมชั่นอื่นๆ เสร็จสิ้นแล้ว และต้องการให้ไฟล์อื่นๆ มีขนาดเดียวกัน ให้ Right Click ที่ไฟล์นั้นๆ แล้วเลือก Copy Attributes
จากนั้นให้ Right Click ที่ไฟล์อื่นๆ แล้วเลือก Past Attribues เพื่อให้แสดงผลแอนนิเมชั่นอย่างเดียวกัน

- ตรงส่วนนี้จะเป็นการปรับแอนนิเมชั่นของฉากหลัก ส่วนที่ติ๊กไว้ คือให้แสดงผลของการซูมรูปภาพ

8. เสร็จสิ้น ไฟล์วีดีโอที่ได้ ก็จะมีฉากหลังที่เราต้องการ



(ที่มา : http://ponpimonnamdee.blogspot.com/p/ulead-video-studio_4232.html)